ผ้ากันความร้อนตัดเป็นชุดกันไฟ

บริษัท นิวเทค อินซูเลชั่น จำกัด จำหน่ายและตัดเย็บ ชุดสะท้อนความร้อน ชุดทำงานหน้าเตาหลอม ผ้าสะท้อนความร้อน ผ้ากันความร้อน ผ้ากันไฟ ใช้ทำปลอกแขน ถุงมือ รองเท้า หมวก ผ้ากันเปื้อน เสื้อ กางเกง ชุดหมี สำหรับงานที่เสี่ยงต่อความร้อน

ชุดกันความร้อน

Newtech Insulation จำหน่ายผ้าสะท้อนความร้อน ผ้ากันความร้อน สินค้านำเข้า จาก ประเทศเยอรมนี สำหรับโรงงานที่ต้องการซื้อไปตัดชุดเอง ผ้าสะท้อนความร้อน ทำจากผ้าอรามิด (เคฟล่าร์) เคลือบอลูมิไนซ์ ทำให้เนื้อผ้าเบา ทนการเสียดสีได้ดี ไม่คัน กันน้ำได้ พร้อมใบ certificates ใช้ร่วมกับผ้า polyester ได้ ใส่สบาย สะท้อนความร้อนได้สูงถึง 1000 องศาเซลเซียส
ผ้ากันความร้อน-ชุดกันความร้อน

หากสนใจ ชุดกันความร้อน ชุดกันไฟ ชุดที่ใช้สำหรับการป้องกันไฟ ตามอุณหภูมิต่างๆ หรือสินค้ากันความร้อนต่างๆ นิวเทค อินซูเลชั่น รับตัดเย็บตามแบบที่ลูกค้าต้องการ หรือจะซื้อ ผ้ากันความร้อน ผ้ากันไฟ ไปตัดเย็บเอง สนใจสอบถามรายละเอียด ได้ที่ โทร 02-583-7084 ติดต่อ contact@newtechinsulation.com
ผ้ากันความร้อน

ผ้ากันความร้อนแบบกันน้ำ

ผ้ากันความร้อน
ผ้ากันความร้อนแบบกันน้ำหรือผ้าใยแก้วที่เคลือบด้วยยางซิลิโคน โพลียูรีเทน และเทฟล่อน ได้รับความนิยมมากสำหรับการนำไปใช้กับงานกลางแจ้งที่ต้องเจอทั้งน้ำจากการทำความสะอาดหรือน้ำฝน รวมทั้งแสงแดดและรังสียูวี คุณสมบัติเด่นอีกประการหนึ่งของผ้ากันความร้อนแบบกันน้ำคือ เนื้อผ้าที่ถูกเคลือบจะไม่มีละอองฝุ่นใยแก้ว จึงทำให้ผ้ากันความร้อนแบบกันน้ำถูกนำไปใช้งานในห้องคลีนรูมหรืองานที่ไม่ต้องการให้มีละอองผ้าฟุ้งออกมาสัมผัสกับชิ้นงานหรือคนทำงานอีกด้วย ลูกค้าสามารถเลือกสารกันน้ำและปริมาณความเข้มข้นของการเคลือบได้ ทำให้ได้ผ้ากันความร้อนที่เหมาะสมกับงบประมาณและการใช้งานมากที่สุด
    ผ้ากันความร้อนแบบกันน้ำกับการนำไปใช้งาน

  • ผ้ากันความร้อนสำหรับตัดเย็บฉนวนแบบถอดได้ ที่ต้องกันน้ำ น้ำมันและสารเคมีอื่นๆ
  • ผ้ากันความร้อนสำหรับตัดเย็บท่อลมร้อน (fabric expansion joints)
  • ผ้ากันสะเก็ดไฟเชื่อม ที่ไม่ต้องการให้มีฝุ่นละอองผ้าขณะใช้งาน
  • ผ้ากันความร้อนสำหรับงานท่อยืดกันฝุ่นของกระบอกไฮดรอลิค
  • งานตัดเย็บกล่องหรือฉนวนหน่วงการลามไฟ ที่อยู่กลางแจ้ง
  • ผ้ากันความร้อนสำหรับตัดเย็บท่อร้อยสายไฟ ที่อยู่กลางแจ้ง
    ตัวอย่างผ้ากันความร้อนแบบกันน้ำ

  • TG430/9KK 100/100 SR – Silicone Rubber Coated 2-Side
  • TG430/9KK PTFE Antistatic – PTFE Coated 1-Side
  • TG660/9A FT – Silicone Rubber Coated 1-Side
  • TG1000/9L 500/500 Red – Silicone Rubber Coated 2-Side
Type Color Weaving Treatment Width (mm) Thickness (mm) Weight (g/m2)
TG 430/9KK
100/100 SR
Grey/Grey Cross Twill Silicone Coated 2-Side 1000-2000 0.44 590
TG 660/9A
1-Side FT
White/Grey Satin 1/7 Grey Silicone Coated 1-Side 1000 0.80 860
TG 950/9KK
350 SRF
White/
Grey
Cross Twill Grey Silicone Coated 1-Side 1000-2000 1.60 1300
TG 1000/9L
500/500 Red
Red/
Red
Plain Red Silicone Coated 2-Side 1000 1.90 2000
TG 1000/9KK
1-Side SR Red
White/
Red
Plain Red Silicone Coated 1-Side 1000 1.60 1300

การเคลือบผ้าทนความร้อน

ผ้ากันความร้อนแบบเคลือบฟอยล์

ผ้ากันไฟ สินค้าของ บริษัท นิวเทค อินซูเลชั่น จำกัด

ผ้ากันความร้อน (การเคลือบผ้ากันความร้อน)

HTM600

  • เคลือบสารกันไฟชนิดควันน้อย สำหรับใช้งานทนความร้อนได้สูงสุดถึง 600 °C
  • เนื้อผ้าให้ความรู้สึกเนียนนุ่ม ฝุ่นจากใยผ้าน้อย
  • เนื้อผ้าตัดเย็บง่าย ไม่ลื่นเมื่อต้องเย็บด้วยมือหรือด้วยจักรเย็บผ้า

CS

  • เคลือบสารกันไฟชนิดควันน้อย สำหรับใช้งานทนความร้อนได้สูงสุดถึง 700 °C
  • อุณหภูมิสูงสุดที่ทนความร้อนได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆคือ 750 °C
  • เนื้อผ้าตัดเย็บง่าย ไม่ลื่นเมื่อต้องเย็บด้วยมือหรือด้วยจักรเย็บผ้า
  • เลือกสีพิเศษตามความต้องการได้

HT90

  • ปราศจากสารอินทรีย์ที่ก่อให้เกิดกลิ่นและควันเมื่อสัมผัสกับความร้อน เคลือบสีขาวเพื่อให้ทนอุณภูมิสูงสุดได้ในระยะเวลาสั้นๆ สูงถึง 900 °C
  • อุณหภูมิใช้งานต่อเนื่องอยู่ที่ประมาณ 750 °C
  • เนื้อผ้าได้รับการทอให้มีลักณะแข็ง เพื่อความแข็งแรงในการใช้งานกลางแจ้ง

AR/FH1000

  • ผ้าสีทองเคลือบสารป้องกันการเสียดสี ทนต่อแรงดึงและของมีคมได้ดีมาก
  • อุณหภูมิใช้งานต่อเนื่องสูงสุดถึง 1,000 °C

G-Tec/ G-Tec Ultra

  • เพิ่มคุณสมบัติป้องกันการย้วยตัวของผ้า:
  • – ทนแรงเสียดสี ทนการกระชากลากถูได้อย่างดีเยี่ยม
  • – ทดสอบโดยวิธี Martindale (8 ชั่วโมง ที่ 650 °C) มากกว่า 8,000 รอบ
  • ต้านทานการลามไฟ (ทดสอบโดยการลนไฟที่ขอบผ้าเป็นเวลานาน 30 วินาที พบว่าผ้าไม่ลามไฟ)
  • สามารถสั่งผลิตตามสีที่ลูกค้าต้องการได้
    G-Tec

  • – สีเทา เคลือบผงเหล็กด้วยกรรมวิธีพิเศษ เพื่อให้ผ้าทนการเสียดสีและแรงสั่นสะเทือนที่มากับความร้อนได้
  • – ทนอุณหภูมิใช้งานต่อเนื่องสูงสุด 700 °C
  • – ทนอุณหภูมิสูงสุดที่ช่วงระยะเวลาประมาณ 8 ชั่วโมง ได้ถึง 750 °C
    G-Tec Ultra

  • – พัฒนามาจาก G-Tec โดยมีกรรมวิธีเคลือบแบบพิเศษเพื่อลดควันและป้องกันก๊าซไหลผ่านเมื่อนำผ้าไปใช้งาน

ผ้าโปลีเอสเตอร์แอร์สไลด์

ผ้าทนไฟ

ผ้าโปลีเอสเตอร์แอร์สไลด์

ผ้าโปลีเอสเตอร์แอร์สไลด์ จะนำมาใช้สำหรับ งานลำเลียงปูนซีเมนต์ผง, สารเคมี, แร่หินต่างๆ, ขี้เถ้าผงและอลูมิน่า ซึ่งจะเป็นผ้าโปลีเอสเตอร์ ที่ออกแบบและผลิตขึ้นโดยบริษัทชั้นนำในวงการผ้าลำเลียงวัตถุดิบ ซึ่งก็คือประเทศอิตาลี (Testori)
เนื้อผ้าสีขาวล้วน หนาตั้งแต่ 3.0 – 5.0 มิลลิเมตร หน้ากว้างมาตรฐาน 1.50 เมตร (หรือตามสั่ง)ความยาวมาตรฐานตั้งแต่ 25 และ 50 เมตร (หรือตามสั่ง)

คุณสมบัติของผ้า Polyester Air Slide :

  • เนื้อผ้ามีความหนาแน่นสม่ำเสมอกัน ทำให้การลำเลียงราบรื่น
  • สามารถทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมีได้เป็นอย่างดี
  • สามารถทนต่อแรงดึงและแรงเสียดสีที่มากระทำต่อเนื้อผ้าได้สูง
  • ดูดซับและกระจายความชื้นได้มาก
ผ้าทนไฟ

หากมีคำถาม เกี่ยวกับ ผ้าโปลีเอสเตอร์แอร์สไลด์ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัทนิวเทค อินซูเลชั่น จำกัด โทร 02-583-7084 หรือติดต่อ contact@newtechinsulation.com

ผ้ากันความร้อนต่างๆ

ผ้ากันความร้อน

Fireproof Blanket หรือ Fire Blanket หรือที่เรียกว่า ผ้าทนความร้อน ล้วนมีความหมายเดียวกัน คือ ใช้เรียกผ้าที่สามารถนำมาคลุมหรือกางออกเพื่อป้องกันมิให้สะเก็ดไฟทะลุผ่านไปโดนวัตถุไวไฟหรือวัตถุอื่นๆในบริเวณการทำงานได้และบางครั้งเราก็จะเห็นผ้าห่มดับไฟ ขนาด 1×1 เมตร พับติดอยู่ในกล่องพร้อมใช้งานในกรณีที่เกิดไฟลุกไหม้ในห้องครัวหรือห้องพักด้วย อันนี้ก็สามารถเรียกว่า ผ้ากันไฟ ผ้ากันความร้อนได้ แต่อันที่จริงแล้ว “ผ้ากันไฟ” ที่กล่าวมานี้แบ่งได้เพียง 2 ประเภทใหญ่ๆ ตามการใช้งานเท่านั้นเอง ได้แก่ “ผ้ากันสะเก็ดไฟงานเชื่อม” และ “ผ้าห่มดับไฟ

ผ้ากันสะเก็ดไฟตัดเย็บจากผ้าใยแก้ว, ผ้าซิลิก้า, ผ้าโปลีเอสเตอร์เคลือบสารกันไฟ และผ้าสังเคราะห์พิเศษอื่นๆ วัตถุประสงค์ก็เพื่อใช้สำหรับงานอุตสาหกรรมหนัก เช่น อุตสาหกรรมต่อและซ่อมเรือ, งานเชื่อมซ่อม บำรุงในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางขึ้นไป, งานเชื่อมโดยแขนกลหรือหุ่นยนต์, งานปิดปากเตาอบ หรือเตาเผาชิ้นงาน, และอื่นๆ ซึ่งรูปแบบการตัดเย็บก็จะมีทั้งแบบเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า, สี่เหลี่ยมจัตุรัส, สี่เหลี่ยมเครื่องหมายบวก, และรูปทรงอื่นๆตามที่หน้างานต้องการ โดยส่วนใหญ่จะมีการตอกตาไก่ ด้านใดด้านนึงเพื่อทำเป็นผ้าม่านกันสะเก็ดไฟ หรือตอกตาไก่โดยรอบเพื่อนำไปขึงหน้างานวัสดุที่ทางเราใช้ตัดเย็บโดยทั่วไปและขนาดตัดเย็บมาตรฐาน มีดังนี้

วัสดุที่ใช้ ความหนา
(มิลลิเมตร)
ขนาด (เมตร)
กว้าง x ยาว
อุณหภูมิใช้งาน
(เซลเซียส)
หมายเหตุ
 ผ้าซิลิก้าสีทอง 1.5  0.9×3, 0.9×5, 0.9×10, 0.9×15,
1.8×3, 1.8×5, 2.7×3, 2.7×5
900-1200 ไม่มีส่วนผสมของใยหิน
/ NON ASTESTOS
 ผ้าซิลิก้าสีทอง 0.8  0.9×3, 0.9×5, 0.9×10, 0.9×15,
1.8×3, 1.8×5, 2.7×3, 2.7×5
900-1000
 ผ้าใยแก้วสีทอง 1.5  1×3, 1×5, 1×10, 2×3, 2×5,
2×10, 3×5, 4×5, 5×5
500-600
 ผ้าใยแก้วสีทอง 1.0  1×3, 1×5, 1×10, 1.5×3,
1.5×5, 2×3, 2×5, 3×3, 3×5
500-600
 ผ้าใยแก้วสีขาว 0.5  1×3, 1×5, 1×10, 1.5×3,
1.5×5, 2×3, 2×5, 3×3, 3×5
200-300

ผ้าห่มดับไฟ

โดยส่วนใหญ่ที่นำเข้าทั้งจากประเทศจีน, อเมริกา, ยุโรป จะเป็นผ้าใยแก้วเคลือบซิลิโคน (สีต่างๆกัน) ทั้ง 2 ด้าน แต่สำหรับผลิตภัณฑ์ของทางเราจะเป็นผ้าใยแก้วและผ้าซิลิก้าที่เป็นสเป็คสำหรับงานผ้ากันสะเก็ดไฟด้านบน นำมาตัดเย็บด้วยด้ายเคฟล่าร์หรือเทฟล่อนในขนาด 1.0 x 1.0 และ 1.5 x 1.5 เมตร บรรจุในกล่องพลาสติคพร้อมที่จะดึงออกมาใช้งานได้ทันที และสามารถนำมาใช้ใหม่ได้อีกหลายครั้ง หากสภาพผ้ายังดี ไม่มีรอยขาดหรือทะลุ เหมาะสำหรับติดไว้ในห้องครัว, ห้องที่เก็บวัตถุไวไฟ, ในรถยนต์,
หรือพื้นที่ที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย

ผ้าทนความร้อน

ผ้ากันสะเก็ดไฟ

ผ้ากันสะเก็ดไฟและความร้อนโดยทาง นิวเทค อินซูเลชั่น มีให้เลือกหลากหลายแบบและขนาดการใช้งาน มีจุดเด่นคือสามารถป้องกันสะเก็ดไฟได้ตั้งแต่งานหินเจียรไปจนถึงงานตัดเหล็กขนาดใหญ่ ที่สำคัญ ผ้ากันความร้อนของทาง นิวเทค อินซูเลชั่น จะไม่มีสารเอสเบสตอส (Non Asbestos) ซึ่งเป็นตัวการก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจต่อผู้ใช้งาน

ผ้าใบกันสะเก็ดไฟเชื่อม

การเลือกใช้ผ้ากันสะเก็ดไฟ

  • เลือกใช้ผ้าใยแก้วตัวบางสุดสำหรับงานป้องกันสะเก็ดไฟจากแนวตั้ง (ม่านกันไฟ)
  • สำหรับงานป้องกันสะเก็ดไฟเชื่อมทั่วไป เลือกใช้ผ้าความหนาไม่เกิน 1.0 ม.ม.
  • งานตัดเหล็กหรืองานหนักพิเศษ แนะนำเป็นผ้าซิลิก้าที่ความหนา 0.7 – 1.5 ม.ม.
  • กรณีที่ไม่ต้องการให้มีฝุ่นผงจากผ้า ควรเลือกผ้าแบบเคลือบสารกันน้ำ
  • น้ำหนักผ้าก็เป็นสิ่งสำคัญที่ควรพิจารณา เนื่องจากมีผลต่อความคล่องตัว
ผ้ากันความร้อน

ตารางแนะนำการใช้งาน

 งาน

ผ้า / อุณหภูมิ 150-450C 450-600C 600-1100C 1100+ C
 ผ้าใยแก้วแบบประหยัด
 ผ้าใยแก้วแบบมาตรฐาน
 ผ้าใยแก้วแบบเสริมลวด
 ผ้าใยแก้วแบบกันน้ำ
 ผ้าซิลิก้า
 ผ้าเซรามิค


ผ้าซิลิก้าเป็นอย่างไร!

ผ้าซิลิก้าทนความร้อน
ผ้าซิลิก้า (Silica cloth)ทอขึ้นมาจากเส้นใยซิลิก้าที่ยาวแบบต่อเนื่อง โดยมีปริมาณของซิลิก้า ไม่น้อยกว่าร้อยละ 96 ถ้าดูผิวเผินจากภายนอก ผ้าซิลิก้าจะเหมือนกับผ้าใยแก้วทุกประการ แต่ถ้า พิจารณาดูให้ดีจะเห็นได้ว่าเส้นใยจากผ้าซิลิก้าจะละเอียดกว่า อีกทั้งการทอก็ดูจะแน่นกว่าผ้าใยแก้ว ที่ขนาดน้ำหนักต่อตารางเมตรเท่ากันอีกด้วย จากการที่มีเนื้อซิลิก้าผสมอยู่มากนี้เอง ทำให้ผลิตภัณฑ์จากซิลิก้า ไม่ว่าจะเป็น ผ้าซิลิก้า, เทปซิลิก้า, เชือกซิลิก้า, ฯลฯ ได้ถูกนำมาใช้แพร่หลายในงานตัดเย็บผ้ากันไฟ, ผ้ากันความร้อน, ชุดฉนวนหุ้มฮีทเตอร์, งานพันและหุ้มท่อไอเสียเรือขนสินค้า, งานพันและหุ้มเทอร์ไบน์, งานแผ่นรองเชื่อมตัวถังเรือ/รถยนต์, งานตัดเย็บถุงมือสำหรับหยิบจับของร้อน, และสินค้าอุตสาหกรรมหนักอื่นๆ อีกมากมาย

 

 ผ้าซิลิก้าสีทอง ชนิดหนา ชนิดบาง
 ความหนา (มม) 1.3-1.5 0.7-0.8
 หน้ากว้าง (ซม) 90-92 92-94
 น้ำหนัก (กรัม/ตร.ม.) 950 600
 ความยาวม้วน (ม) 50 50
 อุณหภูมิใช้งาน (C) 1200 1000
 หมายเหตุ Non Toxic / Non Asbestos Non Toxic / Non Asbestos

ฉนวนกันความร้อนประเภทต่างๆ

ติดตั้งฉนวนกันความร้อน
ฉนวนกันความร้อนในโรงงานอุตสาหกรรม ฉนวนกันความร้อนในบ้านเรือน แตกต่างกันอย่างไร!

ฉนวนกันความร้อน” โดยส่วนใหญ่จะนึกถึง ฉนวนที่เรารู้จักกันในบ้านเรือน เช่น ฉนวนหลังคาบ้าน เพื่อกันความร้อนของที่พักอาศัย แต่จะมีสักกี่คน ที่จะได้รู้ว่า ฉนวนกันความร้อน ยังมีหลายประเภท เช่น ฉนวนกันความร้อนของเครื่องจักร ฉนวนกันความร้อนเครื่องยนต์ ฉนวนกันความร้อนใยหิน ฉนวนกันความร้อนเซรามิค ฉนวนกันความร้อนแบบถอดได้ การเลือกฉนวนกันความร้อนมาใช้งาน จะเลือกตามวัตถุประสงค์การใช้งาน เลือกตามอุณหภูมิที่ใช้ในการลดความร้อน เช่น ในเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งต่างจาก ฉนวนที่ใช้ตามบ้านเรือน นอกจากนี้ คุณภาพของฉนวน ยังแตกต่างกันอีกตามการใช้งาน หลายคนคงสงสัยว่า แล้วที่ว่า “ฉนวนกันความร้อนในโรงงาน คุณภาพสูง” จะรู้ได้อย่างไร ว่า คุณภาพสูง จะส่งผลให้การใช้งานได้ดีกว่า ฉนวนทั่วๆไป หรือจะสูงเพียงแค่ราคาที่นำเสนอเท่านั้น แล้วที่ว่านี้ โรงงานอุตสาหกรรมจะใช้ ฉนวนกันความร้อน อย่างไร ถึงจะคุ้มค่า คุ้มราคา และเหมาะสมกับโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ วันนี้ จึงขอนำเสนอบางประเด็น ที่มีนัยสำคัญ ที่เป็นประโยชน์ เกี่ยวกับ ฉนวนกันความร้อน มาฝากผู้อ่านทุกท่านครับ

ฉนวนกันความร้อน หากจะแบ่งออกอย่างกว้างๆ จะแบ่งตามการนำมาใช้งาน ได้ 2 ประเภท คือ ฉนวนกันความร้อนในบ้านเรือน และ ฉนวนกันความร้อนในโรงงานอุตสาหกรรมและงานก่อสร้าง

1. ฉนวนกันความร้อนโรงงาน จะเป็นฉนวนกันความร้อนที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งต้องใช้ความร้อนสูง ส่วนใหญ่ มากกว่า 100 องศาเซลเซียส จนถึง 1,200 องศาเซลเซียส โดยส่วนใหญ่ ฉนวนในโรงงานอุตสาหกรรม จะมีทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ ฉนวนใยหิน ฉนวนเซรามิค และฉนวนกันความร้อนแบบถอดได้ ซึ่งฉนวนทั้งสามประเภทนี้ มีความแตกต่างกัน ดังนี้

– ฉนวนกันความร้อนแบบถอดได้ จะเป็นฉนวนที่มีความหนาแน่นอยู่ที่ 140k , 180k ซึ่งฉนวนดังกล่าว จะเป็นฉนวนที่ไม่มีน้ำยาอื่นผสมอยู่ จึงทำให้ความคงทนของฉนวนอยู่ได้นาน ใช้งานได้หลายสิบปี คงรูปร่างได้ดี กันความร้อนได้ดี จนถึง 1,200 องศาเซลเซียส สามารถถอดติดตั้ง ประกอบได้ง่าย ดูแลรักษาง่าย ถึงแม้จะมีราคาที่แพงมากกว่าฉนวนประเภทอื่นๆ แต่ใช้งานได้คุ้มค่า กับการป้องกันความร้อนของเครื่องจักร เครื่องยนต์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความเข้มข้นของฉนวน ที่อัดแน่น ทำให้การคงรูปร่างได้ดีกว่าฉนวนประเภทอื่นๆ เมื่อติดตั้งจะแลดูสวยงาม เป็นระเบียบ และป้องกันเสียงเครื่องจักรได้ดี ป้องกันความร้อนได้ดีกว่าฉนวนประเภทอื่นๆ

ฉนวนทนความร้อน

– ฉนวนกันความร้อนใยหิน เป็นฉนวนที่มีราคาถูก มีส่วนประกอบของใยหิน เมื่อติดตั้ง ต้องมีสังกะสีครอบ อายุของฉนวน 5-10 ปี แต่ต้องการดูแลรักษาเพิ่ม เพราะหากฉนวนถูกน้ำ หรือความร้อนที่มากกว่า 750 องศาเซลเซียส จะทำให้ฉนวนเกิดการยุบตัว และไม่สามารถป้องกันความร้อนจากเครื่องจักรได้ เนื่องจากว่ามีสังกะสีครอบอยู่ จึงทำให้ผู้ประกอบการ มองไม่เห็นการยุบตัวของฉนวนใยหิน ยกเว้นทำการตรวจเชคด้วยเครื่องมือ สำหรับตรวจเชคความร้อนเครื่องจักร จึงจะทำให้รู้ว่า ฉนวนใยหินเกิดการสึกหรอ และประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนลดลง นอกจากนี้ สารเคมีจากใยหิน อาจส่งผลการทบต่อสุขภาพของคนงานได้

– ฉนวนกันความร้อนเซรามิค เป็นฉนวนกันความร้อนที่ป้องกันความร้อนได้ดี ถึง 1,200 องศาเซลเซียส ราคาถูกกว่าฉนวนกันความร้อนแบบถอดได้ อายุการใช้งาน 5-10 ปี แต่ต้องระวังเรื่องการทรงรูปร่างของฉนวนที่หุ้มเครื่องจักร เนื่องจากฉนวนเซรามิค จะมีความหนาแน่นของฉนวนน้อยกว่า ความทรงรูปร่างจะบอบบางกว่าฉนวนกันความร้อนแบบถอดได้ จึงต้องคอยระวังรักษาในเรื่องการดูแลเป็นพิเศษ มากกว่าฉนวนกันความร้อนแบบถอดได้ที่การทรงตัวจะดีกว่า

2. ฉนวนกันความร้อนในบ้านเรือน จะเป็นฉนวนกันความร้อน ที่ป้องกันความร้อนจากสภาพอากาศแวดล้อม ซึ่งมีความร้อนไม่เกิน 90 องศาเซลเซียส (ปกติประมาณ 30 – 60 องศาเซลเซียส) โดยส่วนใหญ่ จะมีความหนาแน่นของฉนวน อยู่ที่ 24k ,48k และ 60k อายุของฉนวนกันความร้อนในบ้านเรือนส่วนใหญ่ 5 – 10 ปี แต่ต้องขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาด้วย เช่น หลังคาต้องไม่รั่ว ไม่มีหนูหรือแมลงไปกัด ทำลาย


ทั้งหมดนี้ จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการ ควรจะพิจารณาในการติดตั้ง ฉนวนกันความร้อน ในโรงงานอุตสาหกรรม ถึงความคุ้มค่า การดูแลรักษา ประสิทธิภาพของฉนวน ราคาของฉนวน ทั้งนี้ก็ขึ้นกับงบประมาณของโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆด้วย การพิจารณาถึงการใช้งานในระยะยาว ผลกระทบต่างๆ การดูแลรักษาในระยะยาว ก็จะช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจ และเลือกใช้ฉนวนกันความร้อนโรงงานได้อย่างคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น

ท่อลมร้อนสำคัญอย่างไร

fabric expansion joint
มารู้จักกับท่อลมร้อน หรือ Fabric Expansion Joints กัน
ท่อลมร้อน (fabric expansion joints) มีหน้าที่ช่วยในการชดเชยการหนีศูนย์ของปลายท่อทั้งสองด้าน และต้องมีคุณสมบัติในการทนต่อลมร้อนที่วิ่งผ่านภายในท่อได้อีกด้วย เราจะพบเห็นการใช้งานของท่อลมร้อนหรือ expansion joints ได้ในโรงไฟฟ้า หรือโรงงานแทบทุกประเภทที่ต้องมีระบบท่อในการดูดหรือระบายความร้อนจากกระบวนการผลิต ข้อดีอีกประการหนึ่งของ fabric expansion joints หรือท่อลมร้อน ก็คือสามารถซับการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นจากแนวท่อได้ดีกว่า metal expansion joints หรือท่อลมร้อนที่ผลิตจากโลหะเช่น 304 stainless steel โดยไม่ต้องพี่งพาระบบสปริงโหลด ถือได้ว่าเป็นคุณสมบัติสำคัญที่ช่วยลดการสั่นสะเทือนหรือการกระพือของแนวท่อ และจัดเป็นเรื่องดีที่จะช่วยลดความร้อนและความเครียดสะสมของระบบท่อทั้งหมด ที่ metal expansion joints ไม่สามารถตอบโจทย์ได้
ท่อลมร้อนทำงานอย่างไร (How fabric expansion joints work) Fabric expansion joints หรือท่อลมร้อนจะถูกนำไปติดตั้งในบริเวณแนวท่อตรงจุดที่มีการสั่นสะเทือนหรือมีการเยื้องศูนย์เกิดขึ้น โดยท่อลมร้อนนี้จะมีองค์ประกอบที่สำคัญสองอย่างคือ ผ้าทนความร้อน และ หน้าแปลนเหล็ก โดยทั้งสององค์ประกอบนี้จะทำหน้าที่ต่างกันแต่มีวัตถุประสงค์เดียวกัน กล่าวคือ ผ้าทนความร้อนจะทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ลมร้อนภายในซึมหรือผ่านออกมาด้านนอก ในขณะที่หน้าแปลนเหล็กจะทำหน้าที่ยึดผ้าทนความร้อนให้ติดก้บปลายท่อแต่ละด้านไม่ให้หลุด เมื่อเจอการสะบัดหรือการสั่นหนีศูนย์ในขณะที่มีลมวิ่งผ่านภายในท่อ ทั้งสองส่วนมีวัตถุประสงค์เดียวกันคือ ลดเสียงดังจากการสั่นสะเทือนของแนวท่อ และลดความเครียดสะสมจากการบิดตัวของโลหะ

สิ่งที่ต้องคำนึงถึง เมื่อต้องเลือกใช้ท่อลมร้อน (Design of Fabric Expansion Joints)

  • หน้าแปลนหรือช่วงรอยต่อต้องไม่เกิดการรั่วซึมของลมร้อนเมื่อมีการใช้งาน
  • ต้องเผื่อขนาดให้พอดีไม่หลวมหรือแน่นเกินไป เพราะจะทำให้เกิดการชำรุดเร็วขึ้น
  • เงื่อนไขการใช้งาน ราคาวัสดุ ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและอายุการใช้งานต้องสัมพันธ์กัน
  • การรับประกันจากผู้ผลิต ในเรื่องของการทนต่อการกัดกร่อนของกรดหรือด่าง และฝุ่นคม (ถ้ามี)
  • บริการหลังการขายจากผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่าย ภายหลังจากการติดตั้งท่อลมร้อนและใช้งานไปแล้ว
ท่อลมร้อนโรงงาน

sitemap