ฉนวนกันความร้อนประเภทต่างๆ

ติดตั้งฉนวนกันความร้อน
ฉนวนกันความร้อนในโรงงานอุตสาหกรรม ฉนวนกันความร้อนในบ้านเรือน แตกต่างกันอย่างไร!

ฉนวนกันความร้อน” โดยส่วนใหญ่จะนึกถึง ฉนวนที่เรารู้จักกันในบ้านเรือน เช่น ฉนวนหลังคาบ้าน เพื่อกันความร้อนของที่พักอาศัย แต่จะมีสักกี่คน ที่จะได้รู้ว่า ฉนวนกันความร้อน ยังมีหลายประเภท เช่น ฉนวนกันความร้อนของเครื่องจักร ฉนวนกันความร้อนเครื่องยนต์ ฉนวนกันความร้อนใยหิน ฉนวนกันความร้อนเซรามิค ฉนวนกันความร้อนแบบถอดได้ การเลือกฉนวนกันความร้อนมาใช้งาน จะเลือกตามวัตถุประสงค์การใช้งาน เลือกตามอุณหภูมิที่ใช้ในการลดความร้อน เช่น ในเครื่องจักรในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งต่างจาก ฉนวนที่ใช้ตามบ้านเรือน นอกจากนี้ คุณภาพของฉนวน ยังแตกต่างกันอีกตามการใช้งาน หลายคนคงสงสัยว่า แล้วที่ว่า “ฉนวนกันความร้อนในโรงงาน คุณภาพสูง” จะรู้ได้อย่างไร ว่า คุณภาพสูง จะส่งผลให้การใช้งานได้ดีกว่า ฉนวนทั่วๆไป หรือจะสูงเพียงแค่ราคาที่นำเสนอเท่านั้น แล้วที่ว่านี้ โรงงานอุตสาหกรรมจะใช้ ฉนวนกันความร้อน อย่างไร ถึงจะคุ้มค่า คุ้มราคา และเหมาะสมกับโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆ วันนี้ จึงขอนำเสนอบางประเด็น ที่มีนัยสำคัญ ที่เป็นประโยชน์ เกี่ยวกับ ฉนวนกันความร้อน มาฝากผู้อ่านทุกท่านครับ

ฉนวนกันความร้อน หากจะแบ่งออกอย่างกว้างๆ จะแบ่งตามการนำมาใช้งาน ได้ 2 ประเภท คือ ฉนวนกันความร้อนในบ้านเรือน และ ฉนวนกันความร้อนในโรงงานอุตสาหกรรมและงานก่อสร้าง

1. ฉนวนกันความร้อนโรงงาน จะเป็นฉนวนกันความร้อนที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งต้องใช้ความร้อนสูง ส่วนใหญ่ มากกว่า 100 องศาเซลเซียส จนถึง 1,200 องศาเซลเซียส โดยส่วนใหญ่ ฉนวนในโรงงานอุตสาหกรรม จะมีทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่ ฉนวนใยหิน ฉนวนเซรามิค และฉนวนกันความร้อนแบบถอดได้ ซึ่งฉนวนทั้งสามประเภทนี้ มีความแตกต่างกัน ดังนี้

– ฉนวนกันความร้อนแบบถอดได้ จะเป็นฉนวนที่มีความหนาแน่นอยู่ที่ 140k , 180k ซึ่งฉนวนดังกล่าว จะเป็นฉนวนที่ไม่มีน้ำยาอื่นผสมอยู่ จึงทำให้ความคงทนของฉนวนอยู่ได้นาน ใช้งานได้หลายสิบปี คงรูปร่างได้ดี กันความร้อนได้ดี จนถึง 1,200 องศาเซลเซียส สามารถถอดติดตั้ง ประกอบได้ง่าย ดูแลรักษาง่าย ถึงแม้จะมีราคาที่แพงมากกว่าฉนวนประเภทอื่นๆ แต่ใช้งานได้คุ้มค่า กับการป้องกันความร้อนของเครื่องจักร เครื่องยนต์ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยความเข้มข้นของฉนวน ที่อัดแน่น ทำให้การคงรูปร่างได้ดีกว่าฉนวนประเภทอื่นๆ เมื่อติดตั้งจะแลดูสวยงาม เป็นระเบียบ และป้องกันเสียงเครื่องจักรได้ดี ป้องกันความร้อนได้ดีกว่าฉนวนประเภทอื่นๆ

ฉนวนทนความร้อน

– ฉนวนกันความร้อนใยหิน เป็นฉนวนที่มีราคาถูก มีส่วนประกอบของใยหิน เมื่อติดตั้ง ต้องมีสังกะสีครอบ อายุของฉนวน 5-10 ปี แต่ต้องการดูแลรักษาเพิ่ม เพราะหากฉนวนถูกน้ำ หรือความร้อนที่มากกว่า 750 องศาเซลเซียส จะทำให้ฉนวนเกิดการยุบตัว และไม่สามารถป้องกันความร้อนจากเครื่องจักรได้ เนื่องจากว่ามีสังกะสีครอบอยู่ จึงทำให้ผู้ประกอบการ มองไม่เห็นการยุบตัวของฉนวนใยหิน ยกเว้นทำการตรวจเชคด้วยเครื่องมือ สำหรับตรวจเชคความร้อนเครื่องจักร จึงจะทำให้รู้ว่า ฉนวนใยหินเกิดการสึกหรอ และประสิทธิภาพในการป้องกันความร้อนลดลง นอกจากนี้ สารเคมีจากใยหิน อาจส่งผลการทบต่อสุขภาพของคนงานได้

– ฉนวนกันความร้อนเซรามิค เป็นฉนวนกันความร้อนที่ป้องกันความร้อนได้ดี ถึง 1,200 องศาเซลเซียส ราคาถูกกว่าฉนวนกันความร้อนแบบถอดได้ อายุการใช้งาน 5-10 ปี แต่ต้องระวังเรื่องการทรงรูปร่างของฉนวนที่หุ้มเครื่องจักร เนื่องจากฉนวนเซรามิค จะมีความหนาแน่นของฉนวนน้อยกว่า ความทรงรูปร่างจะบอบบางกว่าฉนวนกันความร้อนแบบถอดได้ จึงต้องคอยระวังรักษาในเรื่องการดูแลเป็นพิเศษ มากกว่าฉนวนกันความร้อนแบบถอดได้ที่การทรงตัวจะดีกว่า

2. ฉนวนกันความร้อนในบ้านเรือน จะเป็นฉนวนกันความร้อน ที่ป้องกันความร้อนจากสภาพอากาศแวดล้อม ซึ่งมีความร้อนไม่เกิน 90 องศาเซลเซียส (ปกติประมาณ 30 – 60 องศาเซลเซียส) โดยส่วนใหญ่ จะมีความหนาแน่นของฉนวน อยู่ที่ 24k ,48k และ 60k อายุของฉนวนกันความร้อนในบ้านเรือนส่วนใหญ่ 5 – 10 ปี แต่ต้องขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาด้วย เช่น หลังคาต้องไม่รั่ว ไม่มีหนูหรือแมลงไปกัด ทำลาย


ทั้งหมดนี้ จึงเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการ ควรจะพิจารณาในการติดตั้ง ฉนวนกันความร้อน ในโรงงานอุตสาหกรรม ถึงความคุ้มค่า การดูแลรักษา ประสิทธิภาพของฉนวน ราคาของฉนวน ทั้งนี้ก็ขึ้นกับงบประมาณของโรงงานอุตสาหกรรมต่างๆด้วย การพิจารณาถึงการใช้งานในระยะยาว ผลกระทบต่างๆ การดูแลรักษาในระยะยาว ก็จะช่วยให้ผู้ประกอบการเข้าใจ และเลือกใช้ฉนวนกันความร้อนโรงงานได้อย่างคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น

ท่อลมร้อนสำคัญอย่างไร

fabric expansion joint
มารู้จักกับท่อลมร้อน หรือ Fabric Expansion Joints กัน
ท่อลมร้อน (fabric expansion joints) มีหน้าที่ช่วยในการชดเชยการหนีศูนย์ของปลายท่อทั้งสองด้าน และต้องมีคุณสมบัติในการทนต่อลมร้อนที่วิ่งผ่านภายในท่อได้อีกด้วย เราจะพบเห็นการใช้งานของท่อลมร้อนหรือ expansion joints ได้ในโรงไฟฟ้า หรือโรงงานแทบทุกประเภทที่ต้องมีระบบท่อในการดูดหรือระบายความร้อนจากกระบวนการผลิต ข้อดีอีกประการหนึ่งของ fabric expansion joints หรือท่อลมร้อน ก็คือสามารถซับการสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นจากแนวท่อได้ดีกว่า metal expansion joints หรือท่อลมร้อนที่ผลิตจากโลหะเช่น 304 stainless steel โดยไม่ต้องพี่งพาระบบสปริงโหลด ถือได้ว่าเป็นคุณสมบัติสำคัญที่ช่วยลดการสั่นสะเทือนหรือการกระพือของแนวท่อ และจัดเป็นเรื่องดีที่จะช่วยลดความร้อนและความเครียดสะสมของระบบท่อทั้งหมด ที่ metal expansion joints ไม่สามารถตอบโจทย์ได้
ท่อลมร้อนทำงานอย่างไร (How fabric expansion joints work) Fabric expansion joints หรือท่อลมร้อนจะถูกนำไปติดตั้งในบริเวณแนวท่อตรงจุดที่มีการสั่นสะเทือนหรือมีการเยื้องศูนย์เกิดขึ้น โดยท่อลมร้อนนี้จะมีองค์ประกอบที่สำคัญสองอย่างคือ ผ้าทนความร้อน และ หน้าแปลนเหล็ก โดยทั้งสององค์ประกอบนี้จะทำหน้าที่ต่างกันแต่มีวัตถุประสงค์เดียวกัน กล่าวคือ ผ้าทนความร้อนจะทำหน้าที่ป้องกันไม่ให้ลมร้อนภายในซึมหรือผ่านออกมาด้านนอก ในขณะที่หน้าแปลนเหล็กจะทำหน้าที่ยึดผ้าทนความร้อนให้ติดก้บปลายท่อแต่ละด้านไม่ให้หลุด เมื่อเจอการสะบัดหรือการสั่นหนีศูนย์ในขณะที่มีลมวิ่งผ่านภายในท่อ ทั้งสองส่วนมีวัตถุประสงค์เดียวกันคือ ลดเสียงดังจากการสั่นสะเทือนของแนวท่อ และลดความเครียดสะสมจากการบิดตัวของโลหะ

สิ่งที่ต้องคำนึงถึง เมื่อต้องเลือกใช้ท่อลมร้อน (Design of Fabric Expansion Joints)

  • หน้าแปลนหรือช่วงรอยต่อต้องไม่เกิดการรั่วซึมของลมร้อนเมื่อมีการใช้งาน
  • ต้องเผื่อขนาดให้พอดีไม่หลวมหรือแน่นเกินไป เพราะจะทำให้เกิดการชำรุดเร็วขึ้น
  • เงื่อนไขการใช้งาน ราคาวัสดุ ค่าใช้จ่ายในการติดตั้งและอายุการใช้งานต้องสัมพันธ์กัน
  • การรับประกันจากผู้ผลิต ในเรื่องของการทนต่อการกัดกร่อนของกรดหรือด่าง และฝุ่นคม (ถ้ามี)
  • บริการหลังการขายจากผู้ผลิตหรือผู้แทนจำหน่าย ภายหลังจากการติดตั้งท่อลมร้อนและใช้งานไปแล้ว
ท่อลมร้อนโรงงาน

sitemap

ผ้าใยแก้ว คืออะไร!

Fiberglass Cloth หรือ ผ้าใยแก้ว เป็นที่รู้จักและนิยมใช้กันมานานกว่า 20 ปีในประเทศไทยโดยทั่วไปแล้วสามารถแบ่ง “ใยแก้ว” ออกได้เป็น 4 ชนิดใหญ่ๆคือ

  1. A Glass (Alkali)– ใช้สำหรับงานที่ต้องทนสารเคมีที่เป็นด่าง
  2. C Glass (Chemical) – ใช้สำหรับงานที่ต้องทนสารเคมีที่เป็นกรดและสารกัดกร่อน
  3. E Glass (Electrical)– ใช้สำหรับงานที่ต้องการรับแรงและเป็นฉนวนป้องกันกระแสไฟฟ้าได้ดี
  4. S Glass (High Strength)– ใช้สำหรับงานที่ต้องการรับแรงสูงกว่าชนิด E

นอกจากนี้ใยแก้วยังจำแนกออกได้หลายประเภทตามลักษณะการใช้งาน ดังนี้

  • ใยแก้วผืน (Chopped Strand Mat)– สำหรับงานเสริมแรงด้วยวิธีใช้มือทา
  • ใยแก้วตาสาน (Woven Roving)– ใช้ร่วมกับผ้าใยแก้วสำหรับเสริมกำลังให้ชิ้นงาน
  • ผ้าใยแก้ว (Fiberglass Cloth)– ใช้ในงานเสริมแรงและกันความร้อนหรือสะเก็ดไฟ
  • ใยแก้วผิว (Glass Tissue)– ใช้สำหรับวางทับหลังเจลโค้ท เพื่อให้ชิ้นงานดูเรียบขึ้น
  • เทปใยแก้ว (Glass Tape)– กว้าง 2-4 นิ้ว สำหรับพันท่อร้อนและเสริมรอยต่อชิ้นงาน
  • ใยแก้วเส้นด้าย (Roving)– ใช้สำหรับเสริมชิ้นงานในลักษณะยาวๆ ลดการแตกร้าว
  • ใยแก้วเส้นสั้น (Chopped Strand)– ใช้ผสมกับเจลโค้ทหรือเรซิ่นแล้วหล่อลงตามมุม
  • ผ้าใยแก้วที่นำไปใช้ตัดเย็บผ้ากันไฟเป็นผ้าใยแก้วชนิด E glass เนื่องจากมีความแข็งแรง ทน

ความร้อนหรือลูกไฟได้ตั้งแต่ 600-850 องศาเซลเซียส และไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้งานเนื่องจากไม่มีส่วนผสมของใยหิน – Non Asbestosสำหรับวัสดุที่ขาดไม่ได้ในการตัดเย็บผ้ากันไฟหรือผ้ากันความร้อนก็คือ “ด้ายใยแก้วเคลือบเทฟล่อน” หรือ”ด้ายเคฟล่าร์” เพราะหากใช้ “ด้ายโปลีเอสเตอร์” ธรรมดา จะทำให้อายุการใช้งานของผ้ากันสะเก็ดไฟ/ผ้ากันความร้อนสั้นลง เนื่องจากด้ายที่เย็บไว้หลุดลุ่ย หรือขาดออกจากกันเมื่อโดนลูกไฟหรือความร้อนสูง

ข้อดีของใยแก้ว

  • น้ำหนักเบา ไม่ติดไฟ
  • ไม่นำไฟฟ้าและความร้อน
  • ไม่ผุกร่อน ไม่เน่าเปื่อย
  • ไม่เป็นสนิม

ผ้าใยแก้วที่ทางเรามีจำหน่ายและตัดเย็บ

  • ผ้าใยแก้วสีทอง– สำหรับกันสะเก็ดไฟและความร้อนหนาตั้งแต่ 8-1.5 มม 600-850 C
  • ผ้าใยแก้วสีเทา– สำหรับกันความร้อนและกันน้ำ (Silicone Rubber Coated) 260-280 C
  • ผ้าใยแก้วสีขาว– อย่างหนา (5-3.0 มม) อย่างบาง (0.2-0.4 มม) สำหรับกันความร้อน
  • ผ้าใยแก้วเคลือบเทฟล่อนชนิดบาง– สำหรับงานตัดเย็บ Expansion Joints 260 C
  • ผ้าใยแก้วเคลือบเทฟล่อนชนิดหนา– สำหรับงาน Expansion Joints 360 C
  • ผ้าใยแก้วเคลือบฟอยล์และอลูมิไนซ์– สำหรับงานสะท้อนความร้อนและถุงเก็บแบตเตอรี่
  • ผ้าใยแก้วเสริมลวด– สำหรับงานที่ต้องทนความร้อนและมีแรงดันภายในสูง 600 C