เวปไซด์ผ้ากันไฟ
เยี่ยมชมเวปไซด์สินค้ากันความร้อน
-
สาระน่ารู้ประจำเดือนนี้
- ผ้ากันไฟ สำคัญต่อก่อสร้าง/อุตสาหกรรมไทย 17/09/2015
- ผ้ากันความร้อน 29/07/2015
- ชุดกันความร้อน ตัดเย็บฝีมือคนไทย วัสดุเยอรมนี 22/07/2015
- ผ้ากันความร้อนตัดเป็นชุดกันไฟ 15/07/2015
- ผ้ากันความร้อนแบบกันน้ำ 25/06/2015
- การเคลือบผ้าทนความร้อน 19/06/2015
- ข้อแนะนำผ้ากันสะเก็ดไฟเชื่อม 12/06/2015
- ผ้าโปลีเอสเตอร์แอร์สไลด์ 08/06/2015
- ผ้ากันความร้อนต่างๆ 02/06/2015
- ผ้าซิลิก้าเป็นอย่างไร! 02/06/2015
Author Archives: newtech
ผ้ากันไฟ หรือที่ต้องเรียกกันให้ถูกเมื่อใช้กับงานเชื่อมโลหะคือ ผ้ากันสะเก็ดไฟเชื่อม หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า “welding blanket” แต่ในอุตสาหกรรมไทยมีหลายชื่อเรียก เช่น ผ้าใบกันไฟ ผ้ากันความร้อน ผ้าทนไฟ เป็นต้น
ผ้ากันไฟที่ใช้ในเมืองไทยจะถูกแยกเป็นประเภทของอุณหภูมิที่จะนำไปใช้งาน คือต่ำกว่า 600 องศาเซลเซียสและเกินกว่า 600 องศาเซลเซียสขึ้นไป หรือสรุปได้ว่ามี 2 ประเภทคือใช้กับงานอุณหภูมิสูงและงานอุณหภูมิต่ำ
ผ้าทนความร้อน ได้เนื่องจากตัวใยผ้าผลิตหรือทอขึ้นมาจากเส้นใยที่มีส่วนผสมของ calcium silicate สูง ส่วนใหญ่จะเป็นผ้าใยแก้วที่มีส่วนผสมของ silica content ตั้งแต่ 55% ขึ้นไป นอกจากผ้าใยแก้วแล้ว ผ้าทนความร้อนบางชนิดยังผลิตจากใยเซรามิคผสมใยโปลีเอสเตอร์ ผลิตจากใยอรามิด หรือแร่ใยหินเอสเบสตอส
คุณลักษณะสำคัญของ ผ้ากันสะเก็ดไฟ หรือ ผ้าใบกันสะเก็ดไฟเชื่อม คือต้องสามารถต้านทานลูกไฟหรือสะเก็ดไฟที่เกิดจากการเชื่อมหรือเป่าตัดเหล็กไว้ได้ ไม่ให้ทะลุผ่านผ้าจากด้านที่ปะทะไปยังอีกด้านหนึ่ง ซึ่งเป็นคุณสมบัติหลัก ส่วนคุณสมบัติรองแต่ก็มีความสำคัญคือ ต้องมีความทนทานใช้งานได้หลายครั้ง ไม่คันหรือไม่ระคายเคืองต่อผู้ใช้ ไม่มีฝุ่นผงที่เป็นอันตรายต่อระบบทางเดินหายใจ น้ำหนักผ้าไม่เยอะเกินไปจนทำให้ใช้งานหรือเคลื่อนย้ายลำบาก
ร้านจำหน่ายผ้ากันไฟ มีราคาขายแตกต่างกัน ทำให้ผู้ใช้เกิดความสับสนไม่แน่ใจถึงขั้นตัดสินใจเลือกไม่ได้ สาเหตุที่ราคาผ้ากันไฟแตกต่างกันส่วนหนึ่งมาจากคุณภาพผ้าที่ไม่เหมือนกัน แหล่งที่มาของผ้าต่างกัน (ยุโรป อเมริกา เอเชีย) วัสดุที่นำมาผลิตผ้ากันไฟที่ไม่เหมือนกัน อุณหภูมิที่ทนความร้อนหรือลูกไฟได้ก็ต่างกัน รวมไปถึงใบรับรองอุณหภูมิการใช้งาน ใบรับรองความปลอดภัยของวัสดุ หากทางผู้ผลิตมีเอกสารเหล่านี้ให้ และเป็นเอกสารที่มิได้มีการปลอมแปลงกันขึ้นมาเอง ราคาผ้าที่ซื้อจากแหล่งเหล่านี้ก็จะมีราคาสูงกว่าผ้ากันไฟที่ซื้อจากร้านทั่วไป ที่ไม่มีเอกสารรับรองอะไรเลย
ในตลาดเมืองไทยมีการ ขายผ้ากันความร้อน ให้กับลูกค้าหรือผู้ใช้งานเป็น 2 ลักษณะใหญ่ๆคือ ขายยกม้วน คือขายผ้ากันความร้อนให้ทั้งม้วน ไม่ว่าจะยาวกี่เมตรหรือจะขอแบ่งจากม้วนเต็ม อีกแบบหนึ่งคือขายให้ในลักษณะตัดเย็บตามขนาดที่ผู้ใช้งานต้องการ เช่น ขนาดผืนละ 2×4 เมตร 3×5 เมตร หรือ 5×10 เมตร เป็นต้น การขายเป็นผืนจะรวมถึงบริการพับขอบพร้อมเจาะตาไก่ (ถ้ามี) ให้ด้วยเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถนำไปขึงหรือแขวนที่หน้างานได้ทันที
ผ้าซิลิก้า (high-silica fabric) ที่มีจำหน่ายในเมืองไทยมี 3 ความหนาคือ 0.6-0.7 มม และ 1.3-1.5 มม ส่วนความหนาตั้งแต่ 1.6 มม ขึ้นไปจะเป็นความหนาสั่งพิเศษ การทนอุณหภูมิหรือทนความร้อนของผ้าซิลิก้าที่ทางนิวเทค อินซูเลชั่น เคยทดสอบกับงานเป่าเหล็กตัดเหล็กพบว่า ผ้าซิลิก้าตัวบางสุดทนได้เพียง 600-700 องศาเซลเซียสผ้าก็ทะลุ ส่วนความหนา 1.3-1.5 มม นั้นทนได้ถึง 1100 องศาเซลเซียส ซึ่งเราสามารถสรุปได้ว่าความหนาของผ้าซิลิก้ามีผลกับการทนความร้อนหรืออุณหภูมิใช้งานนั่นเอง
ผ้าใยแก้ว (fiberglass fabric) ที่มี silica content ไม่ถึง 90% จะทนอุณหภูมิได้ไม่เกิน 600C ผ้าใยแก้วยิ่งบางก็ยิ่งทนความร้อนได้ไม่ดีหรือผ้าทะลุเร็วนั่นเอง แต่ผ้าใยแก้วที่มีการดัดแปลง (modified fiberglass fabric) เช่น มีการพ่นผงเหล็กฉาบผิวหน้าผ้าเอาไว้ มีการผสมสารกันไฟเคลือบเส้นใยผ้า ผ้าที่มีการทอร่วมกันระหว่างเส้นใยแก้วและส่วนผสมของกราไฟต์ ผ้าใยแก้วที่มีสารเวอร์มิคูไลท์เคลือบอยู่ ผ้าใยแก้วดัดแปลงเหล่านี้จะมีความสามารถในการทนอุณหภูมิเพิ่มขึ้นได้อีก ซึ่งสำหรับผู้ผลิตบางรายก็อ้างไว้ว่าทนได้ถึงอุณหภูมิ 1000 องศาเซลเซียส
ผ้าใยแก้ว และ ฉนวนใยแก้ว มีทั้งความเหมือนและความต่างกัน กล่าวคือ ผลิตจากวัตถุดิบเดียวกันคือเส้นใยแก้ว แต่กรรมวิธีในการผลิตต่างกัน เพราะผ้าใยแก้วผลิตขึ้นจากการทอ (woven) แต่ฉนวนใยแก้วผลิตด้วยวิธีการขึ้นรูป (non woven) ซึ่งถ้าเราสังเกตจะพบว่า ในบางกรณีเราสามารถนำฉนวนใยแก้วมารองสะเก็ดไฟเชื่อมแทนผ้าใยแก้วก็ได้ หรือในทางกลับกันเราสามารถนำผ้าใยแก้วมาพันท่อร้อนแทนการหุ้มฉนวน ก็ทำให้อุณหภูมิที่ผิวท่อลดลงได้เหมือนกันแต่อาจลดลงได้ไม่ดีเท่าเอาฉนวนใยแก้วหุ้มท่อร้อนโดยตรง
ผ้ากันไฟ สามารถโดนน้ำได้ และไม่จำเป็นต้องนำไปชุบน้ำก่อนใช้งาน หากต้องการให้ผ้ากันไฟมีคุณสมบัติกันน้ำ (น้ำไม่ซึมผ่านมายังอีกด้าน) ต้องเลือกใช้ผ้ากันไฟที่เคลือบสารกันน้ำอย่างเช่น เคลือบซิลิโคนน้ำหนัก 100 กรัม/ตร.ม.ขึ้นไป หรือเคลือบ PTFE (Teflon) จึงจะมีคุณสมบัติ waterproof หรือกันน้ำอย่างที่เราต้องการ แต่ก็ต้องเข้าใจและยอมรับว่าซิลิโคนและเทฟล่อนที่เคลือบผ้านั้น จะทำให้ประสิทธิภาพในการทนอุณหภูมิสูงๆของผ้าลดลง เนื่องจากทั้งซิลิโคนและเทฟล่อนจะทนอุณหภูมิได้ไม่เกิน 260-300 องศาเซลเซียสเท่านั้น
ผ้ากันไฟ หรือผ้ากันสะเก็ดไฟเชื่อมที่ผลิตจากเส้นใยแก้ว ใยซิลิก้าหรือใยอื่นๆที่มิใช่เส้นใยจำพวก อรามิดหรือโปลีเอสเตอร์ดัดแปลง จะไม่เหมาะที่จะนำมาตัดเย็บเป็นชุดกันความร้อน เนื่องจากจะมีความหนาและน้ำหนักผ้าที่เยอะเกินไป (500 กรัม/ตร.ม. ขึ้นไป) ส่วนใหญ่แล้วชุดกันความร้อน ชุดสะท้อนความร้อนจะใช้ผ้าที่ไม่ระคายเคืองต่อผิวหนัง และมีน้ำหนักไม่เกิน 300-400 กรัม/ตร.ม. เท่านั้น
ในบางกรณีสามารถนำ ผ้ากันความร้อน มาใช้แทนฉนวนกันความร้อนได้ เช่น การใช้ ผ้ากันความร้อนพันท่อไอน้ำ (steam pipes) หรือการใช้ผ้ากันความร้อนมาพันท่อไอเสียของเครื่องยนต์ แต่ไม่ใช่ทุกงานที่จะนำผ้ากันความร้อนมาใช้เป็นฉนวนกันความร้อนได้ ด้วยเหตุผลหลายประการเช่น ค่าสัมประสิทธิ์ในการนำความร้อน ความสะดวกในการถอดใส่ ระยะเวลาที่ต้องการให้สั้นที่สุดในการซ่อมบำรุง การทำความสะอาดบริเวณท่อหรืออุปกรณ์ที่ต้องการหุ้มฉนวนกันความร้อนเป็นต้น
ผ้าใบกันสะเก็ดไฟเชื่อม มีประโยชน์ในการป้องกันอัคคีภัย จากงานเชื่อมหรือตัดโลหะ ช่วยป้องกันเฟอร์นิเจอร์หรือของมีค่าไม่ให้โดนสะเก็ดไฟหรือลูกไฟเชื่อม รวมไปถึงการป้องกันความร้อนแผ่จากงานเชื่อม มิให้ทำปฏิกิริยากับไอน้ำมันหรือสารเคมีบางตัวได้ การเชื่อมในโรงงาน ในอาคาร หรือบริเวณที่มีวัสดุที่เป็นเชื้อเพลิงได้ โดยไม่มีผ้าใบกันสะเก็ดไฟเชื่อม ถือว่าเป็นการกระทำโดยประมาทอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจก่อให้เกิดการสูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินได้
ผ้ากันความร้อน
ผ้ากันความร้อน ผ้ากันไฟ หรือ ผ้ากันสะเก็ดไฟเชื่อม เป็นสินค้าที่ใช้ในงานก่อสร้าง และอุตสาหกรรม สามารถทนความร้อนได้สูงถึง 1200 องศาเซลเซียส ตามชนิดของผ้ากันความร้อน และการใช้งานในอุณหภูมิต่างๆ ผ้ากันความร้อนในประเทศไทย จะนำเข้ามาจากต่างประเทศ คุณภาพก็แตกต่างกันตามการพัฒนาของแต่ละประเทศ เช่น นำเข้าจาก บริษัท HKO ประเทศเยอรมนี นำเข้าจากประเทศจีน นำเข้าจากประเทศใต้หวัน เป็นต้น
บริษัท นิวเทค อินซูเลชั่น จำกัด นำเข้าผ้ากันไฟคุณภาพ จากประเทศเยอรมนี สามารถทนความร้อนได้สูงถึง 1200 องศาเซลเซียส สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับผ้ากันความร้อน ได้ที่ โทร 02-583-7084 หรือ ติดต่อ contact@newtechinsulation.com
ชุดกันความร้อน ตัดเย็บฝีมือคนไทย วัสดุเยอรมนี
ชุดกันความร้อน (HeatProtectionSuit) หรือที่เรียกว่า ชุดสะท้อนความร้อน ชุดผจญเพลิง ชุดลุยไฟ ชุดทำงานหน้าเตาหลอม ชุดกันความร้อน จำหน่าย และ ตัดเย็บ โดยผู้เชี่ยวชาญสินค้ากันความร้อน ช่างฝีมือไทย วัสดุนำเข้าจากประเทศเยอรมนี ทนความร้อนได้ถึง 1000 องศา สามารถเลือกตามแบบ และ อุณหภูมิที่ลูกค้าต้องการ นอกจากนี้ ยังจำหน่าย ผ้าสะท้อนความร้อน ผ้ากันความร้อน สำหรับโรงงานที่ต้องการซื้อไปตัดชุดเอง ใช้ทำปลอกแขน ถุงมือ รองเท้า หมวก ผ้ากันเปื้อน เสื้อ กางเกง ชุดหมี สำหรับงานที่เสี่ยงต่อความร้อน สนใจโทร 02-583-7084 ติดต่อ contact@newtechinsulation.com
ผ้ากันความร้อนตัดเป็นชุดกันไฟ
บริษัท นิวเทค อินซูเลชั่น จำกัด จำหน่ายและตัดเย็บ ชุดสะท้อนความร้อน ชุดทำงานหน้าเตาหลอม ผ้าสะท้อนความร้อน ผ้ากันความร้อน ผ้ากันไฟ ใช้ทำปลอกแขน ถุงมือ รองเท้า หมวก ผ้ากันเปื้อน เสื้อ กางเกง ชุดหมี สำหรับงานที่เสี่ยงต่อความร้อน
Newtech Insulation จำหน่ายผ้าสะท้อนความร้อน ผ้ากันความร้อน สินค้านำเข้า จาก ประเทศเยอรมนี สำหรับโรงงานที่ต้องการซื้อไปตัดชุดเอง ผ้าสะท้อนความร้อน ทำจากผ้าอรามิด (เคฟล่าร์) เคลือบอลูมิไนซ์ ทำให้เนื้อผ้าเบา ทนการเสียดสีได้ดี ไม่คัน กันน้ำได้ พร้อมใบ certificates ใช้ร่วมกับผ้า polyester ได้ ใส่สบาย สะท้อนความร้อนได้สูงถึง 1000 องศาเซลเซียส
หากสนใจ ชุดกันความร้อน ชุดกันไฟ ชุดที่ใช้สำหรับการป้องกันไฟ ตามอุณหภูมิต่างๆ หรือสินค้ากันความร้อนต่างๆ นิวเทค อินซูเลชั่น รับตัดเย็บตามแบบที่ลูกค้าต้องการ หรือจะซื้อ ผ้ากันความร้อน ผ้ากันไฟ ไปตัดเย็บเอง สนใจสอบถามรายละเอียด ได้ที่ โทร 02-583-7084 ติดต่อ contact@newtechinsulation.com
ผ้ากันความร้อนแบบกันน้ำ
ผ้ากันความร้อนแบบกันน้ำหรือผ้าใยแก้วที่เคลือบด้วยยางซิลิโคน โพลียูรีเทน และเทฟล่อน ได้รับความนิยมมากสำหรับการนำไปใช้กับงานกลางแจ้งที่ต้องเจอทั้งน้ำจากการทำความสะอาดหรือน้ำฝน รวมทั้งแสงแดดและรังสียูวี คุณสมบัติเด่นอีกประการหนึ่งของผ้ากันความร้อนแบบกันน้ำคือ เนื้อผ้าที่ถูกเคลือบจะไม่มีละอองฝุ่นใยแก้ว จึงทำให้ผ้ากันความร้อนแบบกันน้ำถูกนำไปใช้งานในห้องคลีนรูมหรืองานที่ไม่ต้องการให้มีละอองผ้าฟุ้งออกมาสัมผัสกับชิ้นงานหรือคนทำงานอีกด้วย ลูกค้าสามารถเลือกสารกันน้ำและปริมาณความเข้มข้นของการเคลือบได้ ทำให้ได้ผ้ากันความร้อนที่เหมาะสมกับงบประมาณและการใช้งานมากที่สุด
- ผ้ากันความร้อนแบบกันน้ำกับการนำไปใช้งาน
- ผ้ากันความร้อนสำหรับตัดเย็บฉนวนแบบถอดได้ ที่ต้องกันน้ำ น้ำมันและสารเคมีอื่นๆ
- ผ้ากันความร้อนสำหรับตัดเย็บท่อลมร้อน (fabric expansion joints)
- ผ้ากันสะเก็ดไฟเชื่อม ที่ไม่ต้องการให้มีฝุ่นละอองผ้าขณะใช้งาน
- ผ้ากันความร้อนสำหรับงานท่อยืดกันฝุ่นของกระบอกไฮดรอลิค
- งานตัดเย็บกล่องหรือฉนวนหน่วงการลามไฟ ที่อยู่กลางแจ้ง
- ผ้ากันความร้อนสำหรับตัดเย็บท่อร้อยสายไฟ ที่อยู่กลางแจ้ง
- ตัวอย่างผ้ากันความร้อนแบบกันน้ำ
- TG430/9KK 100/100 SR – Silicone Rubber Coated 2-Side
- TG430/9KK PTFE Antistatic – PTFE Coated 1-Side
- TG660/9A FT – Silicone Rubber Coated 1-Side
- TG1000/9L 500/500 Red – Silicone Rubber Coated 2-Side
Type | Color | Weaving | Treatment | Width (mm) | Thickness (mm) | Weight (g/m2) |
---|---|---|---|---|---|---|
TG 430/9KK 100/100 SR |
Grey/Grey | Cross Twill | Silicone Coated 2-Side | 1000-2000 | 0.44 | 590 |
TG 660/9A 1-Side FT |
White/Grey | Satin 1/7 | Grey Silicone Coated 1-Side | 1000 | 0.80 | 860 |
TG 950/9KK 350 SRF |
White/ Grey |
Cross Twill | Grey Silicone Coated 1-Side | 1000-2000 | 1.60 | 1300 |
TG 1000/9L 500/500 Red |
Red/ Red |
Plain | Red Silicone Coated 2-Side | 1000 | 1.90 | 2000 |
TG 1000/9KK 1-Side SR Red |
White/ Red |
Plain | Red Silicone Coated 1-Side | 1000 | 1.60 | 1300 |
การเคลือบผ้าทนความร้อน
ผ้ากันความร้อน (การเคลือบผ้ากันความร้อน)
HTM600
- เคลือบสารกันไฟชนิดควันน้อย สำหรับใช้งานทนความร้อนได้สูงสุดถึง 600 °C
- เนื้อผ้าให้ความรู้สึกเนียนนุ่ม ฝุ่นจากใยผ้าน้อย
- เนื้อผ้าตัดเย็บง่าย ไม่ลื่นเมื่อต้องเย็บด้วยมือหรือด้วยจักรเย็บผ้า
CS
- เคลือบสารกันไฟชนิดควันน้อย สำหรับใช้งานทนความร้อนได้สูงสุดถึง 700 °C
- อุณหภูมิสูงสุดที่ทนความร้อนได้ในช่วงระยะเวลาสั้นๆคือ 750 °C
- เนื้อผ้าตัดเย็บง่าย ไม่ลื่นเมื่อต้องเย็บด้วยมือหรือด้วยจักรเย็บผ้า
- เลือกสีพิเศษตามความต้องการได้
HT90
- ปราศจากสารอินทรีย์ที่ก่อให้เกิดกลิ่นและควันเมื่อสัมผัสกับความร้อน เคลือบสีขาวเพื่อให้ทนอุณภูมิสูงสุดได้ในระยะเวลาสั้นๆ สูงถึง 900 °C
- อุณหภูมิใช้งานต่อเนื่องอยู่ที่ประมาณ 750 °C
- เนื้อผ้าได้รับการทอให้มีลักณะแข็ง เพื่อความแข็งแรงในการใช้งานกลางแจ้ง
AR/FH1000
- ผ้าสีทองเคลือบสารป้องกันการเสียดสี ทนต่อแรงดึงและของมีคมได้ดีมาก
- อุณหภูมิใช้งานต่อเนื่องสูงสุดถึง 1,000 °C
G-Tec/ G-Tec Ultra
- เพิ่มคุณสมบัติป้องกันการย้วยตัวของผ้า:
- – ทนแรงเสียดสี ทนการกระชากลากถูได้อย่างดีเยี่ยม
- – ทดสอบโดยวิธี Martindale (8 ชั่วโมง ที่ 650 °C) มากกว่า 8,000 รอบ
- ต้านทานการลามไฟ (ทดสอบโดยการลนไฟที่ขอบผ้าเป็นเวลานาน 30 วินาที พบว่าผ้าไม่ลามไฟ)
- สามารถสั่งผลิตตามสีที่ลูกค้าต้องการได้
- G-Tec
- – สีเทา เคลือบผงเหล็กด้วยกรรมวิธีพิเศษ เพื่อให้ผ้าทนการเสียดสีและแรงสั่นสะเทือนที่มากับความร้อนได้
- – ทนอุณหภูมิใช้งานต่อเนื่องสูงสุด 700 °C
- – ทนอุณหภูมิสูงสุดที่ช่วงระยะเวลาประมาณ 8 ชั่วโมง ได้ถึง 750 °C
- G-Tec Ultra
- – พัฒนามาจาก G-Tec โดยมีกรรมวิธีเคลือบแบบพิเศษเพื่อลดควันและป้องกันก๊าซไหลผ่านเมื่อนำผ้าไปใช้งาน
ข้อแนะนำผ้ากันสะเก็ดไฟเชื่อม
สำหรับ ผ้ากันไฟ หรือ ผ้ากันความร้อน ที่จะใช้สำหรับป้องกันสะเก็ดไฟงานเชื่อม ทั่วๆไปนั้น เลือกใช้แค่ ผ้าใยแก้วสีทองหนา 0.9 มม น้ำหนัก 890 กรัม/ตร.ม. ก็เพียงพอแล้ว ผ้าตัวนี้นอกจากราคาจะไม่แพงแล้ว น้ำหนักยังไม่มากเกินไปอีกด้วย อีกทั้งทนอุณหภูมิสูงสุดได้ถึง 850 องศาเซลเซียสนับว่าเกินพอ การเลือกใช้ระหว่าง ผ้าซิลิก้า กับ ผ้าใยแก้ว นั้น สำหรับงานผ้ากันความร้อน หลักง่ายๆก็คือถ้าอุณหภูมิเกิน 600 C ให้ใช้ผ้าซิลิก้า จะเป็นการคุ้มค่ากว่าในระยะยาว แม้ดูเหมือนว่า จะต้องจ่ายแพงกว่านิดหน่อยในตอนแรกและถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 600 C เลือกใช้เป็นผ้าใยแก้วก็พอแล้วครับ สำหรับสะเก็ดไฟงานเชื่อมนั้นเฉลี่ยอยู่ที่อุณหภูมิประมาณ 300 C เท่านั้นเอง
จากประสบการณ์ของเราเท่าที่เก็บข้อมูลมา อายุการใช้งานเฉลี่ยของผ้ากันไฟและผ้ากันความร้อนที่ตัดเย็บจากผ้าใยแก้วอยู่ที่ประมาณ 12-24 เดือน ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและการบำรุงรักษาด้วย หากว่าอยู่ในที่ร่มไม่ได้โดนแดดโดนฝน ก็จะใช้งานได้นาน แต่ถ้าไปตากแดดเปียกฝนเป็นเวลานานๆ อายุการใช้งานก็สั้นลง
ทั้งผ้าใยแก้วและผ้าซิลิก้า รวมถึงผ้ากันความร้อนอื่นๆที่ทางเรามีจำหน่ายและบริการตัดเย็บ จะเป็นประเภท non-asbestos คือไม่มีส่วนประกอบของใยหินที่เป็นตัวการก่อให้เกิดมะเร็งปอด และ โรคทางเดิน หายใจอื่นๆ สำหรับอาการระคายเคืองนั้นจะเกิดขึ้นบ้างกับผู้ตัดเย็บที่ต้องสัมผัสกับผ้าใยแก้วโดยตรงมากกว่าผู้ใช้งาน
วิธีการสังเกตว่าผ้าทนไฟหรือผ้าทนความร้อนนั้น ยังมีประสิทธิภาพในการใช้งานได้ดีอยู่ ให้สังเกตจากสีผิวของผ้านั้นๆว่ามีสีที่เรียบสม่ำเสมอกันดีทั่วทั้งผืนหรือ ไม่ ถ้าใช่แสดงว่าผ้านั้นยังใช้ได้ แต่หากว่าเริ่มมีสีไม่สม่ำเสมอหรือมีพื้นที่สีกระดำกระด่างขึ้นมา หรือมีสีคล้ายยางไม้เยิ้มไหล ให้ลองเอามือขยี้ผ้านั้นดู ถ้าพบว่ามีการฉีกขาดเปื่อยยุ่ย ได้อย่างง่ายดาย แสดงว่าผ้านั้นเป็นผ้าเก่าเก็บที่หมดอายุ ให้ส่งคืนผู้จำหน่ายต่อไปไม่ควรนำมาใช้งานกันสะเก็ดไฟหรือกันความร้อนโดยเด็ดขาด
ผ้าโปลีเอสเตอร์แอร์สไลด์
ผ้าโปลีเอสเตอร์แอร์สไลด์
ผ้าโปลีเอสเตอร์แอร์สไลด์ จะนำมาใช้สำหรับ งานลำเลียงปูนซีเมนต์ผง, สารเคมี, แร่หินต่างๆ, ขี้เถ้าผงและอลูมิน่า ซึ่งจะเป็นผ้าโปลีเอสเตอร์ ที่ออกแบบและผลิตขึ้นโดยบริษัทชั้นนำในวงการผ้าลำเลียงวัตถุดิบ ซึ่งก็คือประเทศอิตาลี (Testori)
เนื้อผ้าสีขาวล้วน หนาตั้งแต่ 3.0 – 5.0 มิลลิเมตร หน้ากว้างมาตรฐาน 1.50 เมตร (หรือตามสั่ง)ความยาวมาตรฐานตั้งแต่ 25 และ 50 เมตร (หรือตามสั่ง)
คุณสมบัติของผ้า Polyester Air Slide :
- เนื้อผ้ามีความหนาแน่นสม่ำเสมอกัน ทำให้การลำเลียงราบรื่น
- สามารถทนต่อการกัดกร่อนของสารเคมีได้เป็นอย่างดี
- สามารถทนต่อแรงดึงและแรงเสียดสีที่มากระทำต่อเนื้อผ้าได้สูง
- ดูดซับและกระจายความชื้นได้มาก
หากมีคำถาม เกี่ยวกับ ผ้าโปลีเอสเตอร์แอร์สไลด์ สามารถติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ บริษัทนิวเทค อินซูเลชั่น จำกัด โทร 02-583-7084 หรือติดต่อ contact@newtechinsulation.com
ผ้ากันความร้อนต่างๆ
Fireproof Blanket หรือ Fire Blanket หรือที่เรียกว่า ผ้าทนความร้อน ล้วนมีความหมายเดียวกัน คือ ใช้เรียกผ้าที่สามารถนำมาคลุมหรือกางออกเพื่อป้องกันมิให้สะเก็ดไฟทะลุผ่านไปโดนวัตถุไวไฟหรือวัตถุอื่นๆในบริเวณการทำงานได้และบางครั้งเราก็จะเห็นผ้าห่มดับไฟ ขนาด 1×1 เมตร พับติดอยู่ในกล่องพร้อมใช้งานในกรณีที่เกิดไฟลุกไหม้ในห้องครัวหรือห้องพักด้วย อันนี้ก็สามารถเรียกว่า ผ้ากันไฟ ผ้ากันความร้อนได้ แต่อันที่จริงแล้ว “ผ้ากันไฟ” ที่กล่าวมานี้แบ่งได้เพียง 2 ประเภทใหญ่ๆ ตามการใช้งานเท่านั้นเอง ได้แก่ “ผ้ากันสะเก็ดไฟงานเชื่อม” และ “ผ้าห่มดับไฟ”
ผ้ากันสะเก็ดไฟตัดเย็บจากผ้าใยแก้ว, ผ้าซิลิก้า, ผ้าโปลีเอสเตอร์เคลือบสารกันไฟ และผ้าสังเคราะห์พิเศษอื่นๆ วัตถุประสงค์ก็เพื่อใช้สำหรับงานอุตสาหกรรมหนัก เช่น อุตสาหกรรมต่อและซ่อมเรือ, งานเชื่อมซ่อม บำรุงในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางขึ้นไป, งานเชื่อมโดยแขนกลหรือหุ่นยนต์, งานปิดปากเตาอบ หรือเตาเผาชิ้นงาน, และอื่นๆ ซึ่งรูปแบบการตัดเย็บก็จะมีทั้งแบบเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า, สี่เหลี่ยมจัตุรัส, สี่เหลี่ยมเครื่องหมายบวก, และรูปทรงอื่นๆตามที่หน้างานต้องการ โดยส่วนใหญ่จะมีการตอกตาไก่ ด้านใดด้านนึงเพื่อทำเป็นผ้าม่านกันสะเก็ดไฟ หรือตอกตาไก่โดยรอบเพื่อนำไปขึงหน้างานวัสดุที่ทางเราใช้ตัดเย็บโดยทั่วไปและขนาดตัดเย็บมาตรฐาน มีดังนี้
วัสดุที่ใช้ | ความหนา (มิลลิเมตร) |
ขนาด (เมตร) กว้าง x ยาว |
อุณหภูมิใช้งาน (เซลเซียส) |
หมายเหตุ |
ผ้าซิลิก้าสีทอง | 1.5 | 0.9×3, 0.9×5, 0.9×10, 0.9×15, 1.8×3, 1.8×5, 2.7×3, 2.7×5 |
900-1200 | ไม่มีส่วนผสมของใยหิน / NON ASTESTOS |
ผ้าซิลิก้าสีทอง | 0.8 | 0.9×3, 0.9×5, 0.9×10, 0.9×15, 1.8×3, 1.8×5, 2.7×3, 2.7×5 |
900-1000 | |
ผ้าใยแก้วสีทอง | 1.5 | 1×3, 1×5, 1×10, 2×3, 2×5, 2×10, 3×5, 4×5, 5×5 |
500-600 | |
ผ้าใยแก้วสีทอง | 1.0 | 1×3, 1×5, 1×10, 1.5×3, 1.5×5, 2×3, 2×5, 3×3, 3×5 |
500-600 | |
ผ้าใยแก้วสีขาว | 0.5 | 1×3, 1×5, 1×10, 1.5×3, 1.5×5, 2×3, 2×5, 3×3, 3×5 |
200-300 |
ผ้าห่มดับไฟ
โดยส่วนใหญ่ที่นำเข้าทั้งจากประเทศจีน, อเมริกา, ยุโรป จะเป็นผ้าใยแก้วเคลือบซิลิโคน (สีต่างๆกัน) ทั้ง 2 ด้าน แต่สำหรับผลิตภัณฑ์ของทางเราจะเป็นผ้าใยแก้วและผ้าซิลิก้าที่เป็นสเป็คสำหรับงานผ้ากันสะเก็ดไฟด้านบน นำมาตัดเย็บด้วยด้ายเคฟล่าร์หรือเทฟล่อนในขนาด 1.0 x 1.0 และ 1.5 x 1.5 เมตร บรรจุในกล่องพลาสติคพร้อมที่จะดึงออกมาใช้งานได้ทันที และสามารถนำมาใช้ใหม่ได้อีกหลายครั้ง หากสภาพผ้ายังดี ไม่มีรอยขาดหรือทะลุ เหมาะสำหรับติดไว้ในห้องครัว, ห้องที่เก็บวัตถุไวไฟ, ในรถยนต์,
หรือพื้นที่ที่สุ่มเสี่ยงต่อการเกิดอัคคีภัย
ผ้ากันสะเก็ดไฟ
ผ้ากันสะเก็ดไฟและความร้อนโดยทาง นิวเทค อินซูเลชั่น มีให้เลือกหลากหลายแบบและขนาดการใช้งาน มีจุดเด่นคือสามารถป้องกันสะเก็ดไฟได้ตั้งแต่งานหินเจียรไปจนถึงงานตัดเหล็กขนาดใหญ่ ที่สำคัญ ผ้ากันความร้อนของทาง นิวเทค อินซูเลชั่น จะไม่มีสารเอสเบสตอส (Non Asbestos) ซึ่งเป็นตัวการก่อให้เกิดโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจต่อผู้ใช้งาน
การเลือกใช้ผ้ากันสะเก็ดไฟ
- เลือกใช้ผ้าใยแก้วตัวบางสุดสำหรับงานป้องกันสะเก็ดไฟจากแนวตั้ง (ม่านกันไฟ)
- สำหรับงานป้องกันสะเก็ดไฟเชื่อมทั่วไป เลือกใช้ผ้าความหนาไม่เกิน 1.0 ม.ม.
- งานตัดเหล็กหรืองานหนักพิเศษ แนะนำเป็นผ้าซิลิก้าที่ความหนา 0.7 – 1.5 ม.ม.
- กรณีที่ไม่ต้องการให้มีฝุ่นผงจากผ้า ควรเลือกผ้าแบบเคลือบสารกันน้ำ
- น้ำหนักผ้าก็เป็นสิ่งสำคัญที่ควรพิจารณา เนื่องจากมีผลต่อความคล่องตัว
ตารางแนะนำการใช้งาน
งาน
ผ้า / อุณหภูมิ | 150-450C | 450-600C | 600-1100C | 1100+ C |
ผ้าใยแก้วแบบประหยัด | √ | |||
ผ้าใยแก้วแบบมาตรฐาน | √ | √ | ||
ผ้าใยแก้วแบบเสริมลวด | √ | √ | ||
ผ้าใยแก้วแบบกันน้ำ | √ | |||
ผ้าซิลิก้า | √ | √ | √ | |
ผ้าเซรามิค | √ |
ผ้าซิลิก้าเป็นอย่างไร!
ผ้าซิลิก้า (Silica cloth)ทอขึ้นมาจากเส้นใยซิลิก้าที่ยาวแบบต่อเนื่อง โดยมีปริมาณของซิลิก้า ไม่น้อยกว่าร้อยละ 96 ถ้าดูผิวเผินจากภายนอก ผ้าซิลิก้าจะเหมือนกับผ้าใยแก้วทุกประการ แต่ถ้า พิจารณาดูให้ดีจะเห็นได้ว่าเส้นใยจากผ้าซิลิก้าจะละเอียดกว่า อีกทั้งการทอก็ดูจะแน่นกว่าผ้าใยแก้ว ที่ขนาดน้ำหนักต่อตารางเมตรเท่ากันอีกด้วย จากการที่มีเนื้อซิลิก้าผสมอยู่มากนี้เอง ทำให้ผลิตภัณฑ์จากซิลิก้า ไม่ว่าจะเป็น ผ้าซิลิก้า, เทปซิลิก้า, เชือกซิลิก้า, ฯลฯ ได้ถูกนำมาใช้แพร่หลายในงานตัดเย็บผ้ากันไฟ, ผ้ากันความร้อน, ชุดฉนวนหุ้มฮีทเตอร์, งานพันและหุ้มท่อไอเสียเรือขนสินค้า, งานพันและหุ้มเทอร์ไบน์, งานแผ่นรองเชื่อมตัวถังเรือ/รถยนต์, งานตัดเย็บถุงมือสำหรับหยิบจับของร้อน, และสินค้าอุตสาหกรรมหนักอื่นๆ อีกมากมาย
ผ้าซิลิก้าสีทอง | ชนิดหนา | ชนิดบาง |
ความหนา (มม) | 1.3-1.5 | 0.7-0.8 |
หน้ากว้าง (ซม) | 90-92 | 92-94 |
น้ำหนัก (กรัม/ตร.ม.) | 950 | 600 |
ความยาวม้วน (ม) | 50 | 50 |
อุณหภูมิใช้งาน (C) | 1200 | 1000 |
หมายเหตุ | Non Toxic / Non Asbestos | Non Toxic / Non Asbestos |