ผ้ากันไฟงานเป่าเหล็กตัดเหล็ก

  • ผ้ากันไฟงานเป่าเหล็ก

 

ผ้ากันไฟใช้ในงานเป่าเหล็ก/ตัดเหล็ก หรือ ผ้าทนความร้อนในงานเป่าเหล็ก

• Hakotherm®-1200, Silicatherm®
สินค้าในกลุ่มนี้จะถูกผลิตหรือทอขึ้นจากเส้นใยซิลิก้า ซึ่งสามารถทนต่อความร้อนต่อเนื่องได้สูงถึงประมาณ 1,000°C จึงเหมาะสำหรับ งานผ้าใบกันสะเก็ดไฟหรือ งานกันความร้อนในโรงหลอมโลหะ

• Silicatex®
เป็นสินค้ากันความร้อนที่ผลิตขึ้นมาจากเส้นใยซิลิก้าที่มีความบริสุทธ์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 98.9 (SiO2 content approx.98.9%) ทำให้ทนอุณหภูมิต่อเนื่องได้สูงถึง 1,200°C

ผ้ากันไฟสำหรับเป่าเหล็ก ตัดเหล็ก นั้นจะต้องทนอุณหภูมิได้ไม่ต่ำว่า 1,000 องศาเซลเซียส และสำหรับงานบางประเภทระยะรองรับเหล็กหรือน้ำเหล็กที่ถูกเป่าหรือตัดนั้นใกล้เพียง 1-2 นิ้ว (3-5 cm) เท่านั้นเอง ผู้ใช้งานจำนวนไม่น้อยที่ได้รับข้อมูลไม่ถูกต้องหรือไม่ครบถ้วนและนำผ้ากันสะเก็ดไฟเชื่อมแบบทั่วไป มาใช้กับงานในลักษณะนี้แล้วผิดหวังกับคุณสมบัติผ้ากันไฟหรืออาจมีประสบการณ์ด้านอัคคีภัยตามมา ทาง บจก.นิวเทค อินซูเลชั่น ผู้เชี่ยวชาญด้านผ้ากันความร้อน จึงขอแนะนำคุณสมบัติที่สำคัญของผ้ากันไฟสำหรับงาน heavy duty แบบนี้ ดังนี้

1. ไม่มีแร่ใยหินเอสเบสตอส
เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่า แร่ใยหินเอสเบสตอสเป็นสารก่อให้เกิดโรคทางระบบหายใจและมะเร็งปอด หากได้รับการสะสมในร่างกายต่อเนื่องเป็นเวลานาน ผ้ากันไฟหรือผ้ากันความร้อนที่เรานำมาใช้งานจึงต้องแน่ใจว่ามาจากวัสดุที่ไม่มีสารเอสเบสตอส และควรมีเส้นผ่าศูนย์กลางของเส้นใยผ้าไม่น้อยกว่า 6 ไมครอน เนื่องจากเส้นใยที่เล็กกว่านี้จะถูกหายใจเข้าไปในปอดและหลอดลมได้ง่ายมาก

2. ทนอุณหภูมิต่อเนื่องได้ไม่น้อยกว่า 1,000-1,200 C
น้ำเหล็กหรือเหล็กที่โดนแก๊สเป่าจนขาดจากกันมีอุณหภูมิเริ่มต้นสูงถึง 1,200 C และเมื่อตกจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำผ่านอากาศ อุณหภูมิก็จะเริ่มลดลงแต่ก็ยังสูงถึงเกือบ 900C อยู่ (ขึ้นอยู่กับระยะห่างของผ้าและจุดตัดเหล็ก) ฉะนั้นผ้ากันไฟที่นำมาใช้สำหรับงานแบบนี้ จึงต้องทนอุณหภูมิได้สูงกว่าผ้ากันไฟที่ใช้สำหรับงานทั่วไป (600 C)

3. ความหนาผ้ากันไฟอยู่ระหว่าง 1-2 mm
ผ้ากันไฟบางประเภทที่ทนอุณหภูมิสูงได้ถึง 1,000 C แต่มีความหนาของผ้าน้อยกว่า 1 mm ก็อาจทำให้อายุการใช้งานสั้นเกินไป เนื่องจากผ้าจะทะลุเร็ว ทำให้ต้องหาผ้ากันไฟผืนใหม่มาเปลี่ยนบ่อยครั้ง ส่งผลให้เกิดค่าใช้จ่ายซ้ำซ้อน แต่ผ้ากันไฟที่หนาเกินไปก็จะทำให้มีน้ำหนักมากเกินไปอันจะก่อให้เกิดความไม่สะดวกและอันตรายแก่ผู้ใช้งานเมื่อต้องนำผ้ากันไฟขึ้นไปทำงานบนที่สูง ทางเราพบว่าความหนาผ้ากันไฟ 1.5-2.0 mm เป็นความหนาที่เหมาะกับงานหลายประเภท

4. น้ำหนักผ้าไม่ควรเกิน 2,000 กรัม/ตร.ม.
ผ้ากันไฟที่มีน้ำหนักต่อ ตร.ม. มากเกินไปจะกลายเป็นอุปสรรคต่อช่างเชื่อมหรือผู้ปฏิบัติงานทันที เพราะต้องออกแรงในการเคลื่อนย้ายผ้ากันไฟไปตามจุดต่างๆ หรือแม้แต่น้ำหนักของผ้าที่กดทับตัวเองทำให้ผู้ใช้ต้องลากดึงแทนการยก ก็จะทำให้ผ้ากันไฟขาดได้เร็วขึ้น น้ำหนักผ้ายังมีผลต่อการขนส่งและการจัดเก็บในสต็อคอีกด้วย เพราะผ้าที่น้ำหนักมากเมื่อมีขนาดผืนใหญ่มาก เวลานำออกมาใช้งานก็อาจต้องใช้รถฟอร์คลิฟท์ช่วยในการเคลื่อนย้าย

5. ตัดง่ายไม่หลุดลุ่ย
ผู้ใช้งานหลายที่มีความจำเป็นต้องซื้อผ้ากันไฟแบบยกม้วนไปใช้งาน เนื่องจากต้องการตัดแบ่งเป็นผืนที่มีขนาดเหมาะกับงานของตนเอง ผ้ากันไฟแบบทั่วไปที่ไม่ได้มีสารเคลือบช่วยให้ตัดเย็บง่าย ก็จะเกิดการหลุดลุ่ยของเส้นใยผ้าเมื่อผู้ใช้ทำการตัดแบ่งขนาดผ้าด้วยตนเอง อาจจะไม่ใช่ประเด็นหลัก แต่ก็สร้างความรำคาญและเกิดการสิ้นเปลืองให้กับผู้ใช้งานอยู่ไม่น้อย

6. ไม่มีฝุ่นละอองจากใยผ้า
ผ้ากันไฟบางชนิดมีฝุ่นอยู่ที่ใยผ้ามาก เมื่อนำมาใช้งานจะทำให้ผู้ใช้สูดดมละอองฝุ่นเหล่านี้เข้าไป เมื่อเกิดการสะสมในปอดและหลอดลมมากๆ ก็จะส่งผลให้เกิดโรคภูมิแพ้หรือโรคร้ายต่างๆตามมา ฝุ่นใยผ้าจากผ้ากันสะเก็ดไฟเชื่อมเหล่านี้เล็กมากแต่ก็ยังมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เราจึงควรเลือกใช้ผ้าที่มีฝุ่นละอองจากใยผ้าให้น้อยที่สุด

7. ทนการเสียดสี
ในสภาพการใช้งานจริงพบว่า ผู้ใช้ส่วนใหญ่มีการลากผ้ากันไฟเมื่อต้องเคลื่อนย้ายการทำงานจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง เพราะฉะนั้นผ้ากันไฟที่ไม่ได้ออกแบบให้ทนการเสียดสี จะเกิดการฉีกขาดของผ้าเมื่อต้องสีกับพื้นถนนหรือพื้นคอนกรีต ผ้ากันไฟที่ผลิตหรือออกแบบมาให้ทนการเสียดสีแม้จะมีราคาสูงกว่าผ้ากันไฟแบบทั่วไปเล็กน้อย แต่ก็คุ้มค่ากว่ามากในการใช้งานจริง

Comments are closed.