ข้อแนะนำผ้ากันสะเก็ดไฟเชื่อม

weldingblanket

สำหรับ ผ้ากันไฟ หรือ ผ้ากันความร้อน ที่จะใช้สำหรับป้องกันสะเก็ดไฟงานเชื่อม ทั่วๆไปนั้น เลือกใช้แค่ ผ้าใยแก้วสีทองหนา 0.9 มม น้ำหนัก 890 กรัม/ตร.ม. ก็เพียงพอแล้ว ผ้าตัวนี้นอกจากราคาจะไม่แพงแล้ว น้ำหนักยังไม่มากเกินไปอีกด้วย อีกทั้งทนอุณหภูมิสูงสุดได้ถึง 850 องศาเซลเซียสนับว่าเกินพอ การเลือกใช้ระหว่าง ผ้าซิลิก้า กับ ผ้าใยแก้ว นั้น สำหรับงานผ้ากันความร้อน หลักง่ายๆก็คือถ้าอุณหภูมิเกิน 600 C ให้ใช้ผ้าซิลิก้า จะเป็นการคุ้มค่ากว่าในระยะยาว แม้ดูเหมือนว่า จะต้องจ่ายแพงกว่านิดหน่อยในตอนแรกและถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 600 C เลือกใช้เป็นผ้าใยแก้วก็พอแล้วครับ สำหรับสะเก็ดไฟงานเชื่อมนั้นเฉลี่ยอยู่ที่อุณหภูมิประมาณ 300 C เท่านั้นเอง

จากประสบการณ์ของเราเท่าที่เก็บข้อมูลมา อายุการใช้งานเฉลี่ยของผ้ากันไฟและผ้ากันความร้อนที่ตัดเย็บจากผ้าใยแก้วอยู่ที่ประมาณ 12-24 เดือน ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งานและการบำรุงรักษาด้วย หากว่าอยู่ในที่ร่มไม่ได้โดนแดดโดนฝน ก็จะใช้งานได้นาน แต่ถ้าไปตากแดดเปียกฝนเป็นเวลานานๆ อายุการใช้งานก็สั้นลง

ทั้งผ้าใยแก้วและผ้าซิลิก้า รวมถึงผ้ากันความร้อนอื่นๆที่ทางเรามีจำหน่ายและบริการตัดเย็บ จะเป็นประเภท non-asbestos คือไม่มีส่วนประกอบของใยหินที่เป็นตัวการก่อให้เกิดมะเร็งปอด และ โรคทางเดิน หายใจอื่นๆ สำหรับอาการระคายเคืองนั้นจะเกิดขึ้นบ้างกับผู้ตัดเย็บที่ต้องสัมผัสกับผ้าใยแก้วโดยตรงมากกว่าผู้ใช้งาน

วิธีการสังเกตว่าผ้าทนไฟหรือผ้าทนความร้อนนั้น ยังมีประสิทธิภาพในการใช้งานได้ดีอยู่ ให้สังเกตจากสีผิวของผ้านั้นๆว่ามีสีที่เรียบสม่ำเสมอกันดีทั่วทั้งผืนหรือ ไม่ ถ้าใช่แสดงว่าผ้านั้นยังใช้ได้ แต่หากว่าเริ่มมีสีไม่สม่ำเสมอหรือมีพื้นที่สีกระดำกระด่างขึ้นมา หรือมีสีคล้ายยางไม้เยิ้มไหล ให้ลองเอามือขยี้ผ้านั้นดู ถ้าพบว่ามีการฉีกขาดเปื่อยยุ่ย ได้อย่างง่ายดาย แสดงว่าผ้านั้นเป็นผ้าเก่าเก็บที่หมดอายุ ให้ส่งคืนผู้จำหน่ายต่อไปไม่ควรนำมาใช้งานกันสะเก็ดไฟหรือกันความร้อนโดยเด็ดขาด

Bookmark the permalink.

Comments are closed.